ช่วงปี 1995-1997 ปี แห่งการเริ่มต้น
เป็นช่วงปีซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของตำนาน Google เมื่อ 2 ผู้ร่วมก่อตั้ง Google ตั้งแต่แรกคือ 2 หนุ่มวัยรุ่น Larry Page และ Sergey Brin ทั้งคู่ได้รู้จักกันที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สาขา Computer science เมื่อปี 1995 ขณะนั้น Larry อายุ 24 ปี และ Sergey อายุ 23 ปี ด้วยบุคลิกที่กล้าคิดกล้าแสดงออกในบรรดาเรื่องต่าง ๆ ที่ตัวเองสนใจของทั้งคู่ ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในเรื่องของการสร้างเทคโนโลยีระบบจักรกลที่สามารถดึงสืบค้นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้ ซึ่งยังเป็นหัวข้อที่สำคัญและสามารถพัฒนาต่อได้อีกมากมายในด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการขนถ่ายข้อมูล
เดือนมกราคมปี 1996 Larry Page และ Sergey Brin ได้เริ่มค้นคว้าเทคโนโลยีจักรกลค้นหาหรือว่า search engines ที่สมัยนั้น ถูกเรียกว่า BackRub ซึ่งหมายถึงความสามารถอันพิเศษที่สามารถสามารถจะเข้าไปวิเคราะห์ “back links” ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ โดยในช่วงแรก ๆ นั้น การทำงานของทั้งคู่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะยังขาดปัจจัยด้านทุนทรัพย์เหมือนกับเด็กนักศึกษาทั่วไป เมื่อเวลาผ่านไป ปรากฎว่าเทคโนโลยี BackRub กลับเริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่กล่าวขวัญตื่นตาตื่นใจไปทั่วมหาวิทยาลัยกับระบบจักรกลค้นหาที่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในสมัยนั้น
ปี 1998 สัญญาณของความสำเร็จ
ทั้ง 2 หนุ่มได้พยายามสานต่อรากเหง้าของเทคโนโลยีที่ตนเองคิดค้นขึ้นมาให้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง โดยใช้หกพักของ Larry มาเป็นห้อง Data center ห้องแล็บแรกของ Google ซึ่งในช่วงแรกทั้งคู่ก็ไม่ได้สนใจที่จะจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีนี้ออกไปสู่ท้องตลาด ขณะนั้นเว็บไซต์ของ Yahoo! เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ของพวกเขา แต่เหมือนฟ้าดลใจ เพราะตอนนั้น Yahoo! ไม่สนใจระบบ Search engine และมองว่ากลุ่มลูกค้าของยาฮูไม่จำเป็นต้องใช้จักรกลค้นหาแบบนี้ และแนะนำให้ Larry และ Sergey ตั้งบริษัทขึ้นมารองรับเองจะดีกว่า
ปี 1999 เงินทุนก้อนใหญ่มาแล้ว
วันที่ 7 มิถุนายน 1999 Google ก็ได้ประกาศว่าได้มีผู้ร่วมทุนขนาดใหญ่เข้ามาอีก 2 รายคือ Mike Moritz แห่งกลุ่มบริษัทเงินทุน Sequoia และ John Doerr ของบริษัท Kleiner Perkins มานั่งอยู่ในตำแหน่งคณะกรรมการบริหารของบริษัทพร้อมกับเม็ดเงินลงทุนเพิ่มเข้ามาอีกถึง 25 ล้านดอลลาร์ และโปรแกรม Search Engines ก็ได้ถูก AOL/Netscape นำไปใช้สำหรับเป็นเครื่องมือด้านในเว็บไซต์ ซึ่งมียอดใช้งานสูงถึง 3 ล้านครั้งต่อวันเลยทีเดียว
ปี 2000 ปีแห่งการสยายปีกของ Google
เป็นปีที่อาณาจักรของ Google เริ่มค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาเสริมอย่าง Google Directory และบริการค้นหาข้อมูลผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สาย รวมถึงความสามารถในการให้บริการภาษาต่าง ๆ สำหรับใช้ค้นหาลิงก์เว็บไซต์ได้ถึง 10 ภาษาทั่วโลก
วันที่ 26 เดือนมิถุนายน Google และ Yahoo! ได้ประกาศการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกันโดยทั้ง 2 บริษัทจะมีการและเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน เพื่อรองรับบริการที่เข้ามาสูงถึง 18 ล้านครั้งต่อวัน และตอนนี้เว็บไซต์ NetEase ของประเทศจีน และ Biglobe ของญี่ปุ่น ต่างก็ใช้ระบบค้นหาของ Google เข้ามาใช้ในเว็บไซต์ของตนเป็นครั้งแรก
ปี 2001 การแตกไลน์ด้านการบริการครั้งสำคัญ
ในเดือนกุมภาพันธ์ Google ได้เริ่มรุกเข้าสู่ธุรกิจดอทคอมอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อได้เข้าไปถือหุ้นซื้อบริษัท Deja.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ด้านระบบฐานข้อมูลอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ โดยการนำระบบฐานข้อมูลเหล่านี้ให้กลายมาเป็นฟอร์แมตที่สามารถใช้ Search Engines เข้าไปค้นหาได้ ด้วยความสำเร็จที่ก้าวเข้ามาถึงจุดนี้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปลายปี 2001 Google ก็เริ่มประกาศให้ชาวโลกได้ทราบว่าตอนนี้ธุรกิจออนไลน์ของตนกำลังทำรายได้และผลกำไรให้อย่างเป็นล่ำเป็นสันแล้ว
ชื่อเสียงของ Google เริ่มขจรขจายไปทั่วโลก เมื่อเดือนตุลาคม Google ได้ตกลงเซ็นสัญญาร่วมกับ Lycos Korea ในการนำจักรกลค้นหาของ Google ไปใช้บริการในด้านกลุ่มข่าวหรือว่า Usenet Archive ใน New Group สำหรับกลุ่มยูสเซอร์ที่อยู่ในฝั่งเอเชีย และ Google ก็สามารถรองรับภาษา ทั่วโลกได้ถึง 26 ภาษาแล้ว รวมถึงภาษาอาราบิกและภาษาตุรกี
ปี 2002 สานต่อเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในระดับโมเลกุล
เดือนกุมภาพันธ์ 2002 Google ได้รับรางวัล “Search Engine Watch Awards” ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้จากการลงความเห็นของเว็บมาสเตอร์จากทั่วโลกที่ให้คะแนน Google ในฐานะบริการยอดเยี่ยมด้านต่าง ๆ เช่น Best Image Search Engine, Best Design, Most Webmaster Friendly Search Engine และบริการ Best Search Feature
บริการต่างๆ ของ Google
หลังจากที่เราได้รู้จักกับttประวัติของ Google กันไปแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องราวของบริการต่าง ๆ ที่ตอนนี้ Google ได้เปิดให้บริการแบบออนไลน์อย่างมากมาย นอกเหนือไปจากระบบดัชนีค้นหาหรือว่า Search Engines ซึ่งเป็นธุรกิจแรกเริ่มเดิมทีของ Google
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น